งานบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

-เทคโนโลยี


เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์(คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา

ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น

ที่มา https://th.wikipedia.org

ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

       เหตุการณ์ที่ใช้ในประจำวัน คือ ผมทำงานกับเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่มาใช้นั่นก็คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงแม่นยำมาก ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับงาน

-สารสนเทศ

สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน

ที่มา https://th.wikipedia.org

ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

       ผมใช้สารสนเทศในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หรือจะเป็น E-mail ครับ

-เทคโนโลยีสารสนเทศ
       
 Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น



  


ที่มาของข้อมูล http://www.kmitl.ac.th

ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
   
   ในการทำงานหรือการเรียนของผม ผมใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งครับ

-ข้อมูล


        ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ 
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
 ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
 ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          

       สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ 
 เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
 ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
 ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
 รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

UploadImage
ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ   เช่นเป็นตัวเลข    ข้อความ   รูปภาพ  เสียงต่าง ๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ  ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลทางตา    ได้แก่ การมองเห็น   เช่นข้อมูลภาพ     จากหนังสือ   โทรทัศน์   เป็นต้น
2.การรับรู้ทางหู    ได้แก่  การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู   เช่น  ข้อมูลเสียงเพลง   เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ  ได้แก่   การสัมผัสกับข้อมูล  เช่น  การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก   ได้แก่  การได้กลิ่น   เช่น  หอมกลิ่นอาหาร  กลิ่นดอกไม้  กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก   ได้แก่  การรู้สึกถึงรส  โดยการสัมผัสทางลิ้น  เช่น  เผ็ด  หวาน  ขม  เป็นต้น
ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ 

1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น  เช่น   145 ,  2468  เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2.  ข้อมูลอักขระ  ประกอบด้วย ตัวอักษร  ตัวเลข  และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่  13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ  รับรู้จากการมองเห็น  เช่น ภาพดารา  ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง  รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน  เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ข้อมูลมีประโยชน์มากมายดังนี้
1.  ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์   วิทยุ หนังสือพิมพ์  มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้  เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น  ถ้าเรามีข้อมูล  เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย  หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ   เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  เช่น  การเลือกซื้อของเล่น  ถ้าเราทราบราคาของเล่น  ในแต่ละร้าน  จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด


ที่มา.thaigoodview

ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

   ผมได้รับข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ Internet 

-ฐานความรู้

        ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้เก็บบันทึกความรู้ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ โดยปกติใช้เพื่อจุดประสงค์ของการใช้เหตุผลนิรนัยอัตโนมัติในตัว พวกมันมีกลุ่มของข้อมูลที่มักจะอยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อธิบายความรู้ในแบบต้องกันเชิงตรรกศาสตร์ ภววิทยาสามารถนิยามขึ้นได้จากโครงสร้างของข้อมูลที่เก็บบันทึกว่า ประเภทใดของหน่วยข้อมูลถูกบันทึกอยู่และความสัมพันธ์ของพวกมันเป็นอย่างไร ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น แอนด์ (การเชื่อม) ออร์ (การเลือกการมีเงื่อนไข และนิเสธ อาจถูกใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาจากสารสนเทศส่วนที่เรียบง่ายกว่า ต่อจากนั้นก็ใช้การนิรนัยแบบดั้งเดิมเพื่อคิดคำนวณความรู้ให้เป็นฐานความรู้ ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้บางชนิดถูกนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น บางส่วนของระบบผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความสนใจไปที่ขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นยาตามใบสั่งหรือกฎหมายศุลกากรเป็นต้น ฐานความรู้บางชนิดก็ถูกนำไปใช้กับเว็บเชิงความหมาย
ที่มา https://th.wikipedia.org

ตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

    ฐานความรู้ที่ผมใช้ก็คือ ข้อมูลด้านรถยนต์ คือ ผมก็ต้องรู้ว่ารถที่ผมใช้อยู่ใช้งานอย่างไร และคอมพิวเตอร์ ผมก็ต้องทราบว่า คอมพิวเตอร์ใช้งานอย่างไร การทำงาน ผมก็ต้องรู้ว่า เครื่องจักรที่ผมใช้อยู่ ใช้งานอย่างไร

2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่

                          1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ

 (Transaction Processing System : TPS)
      ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
               ลักษณะเด่นของ TPS
              ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

                              2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ            

(Management Information System : MIS)
               คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ

ลักษณะเด่นของ MIS
1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   


                                      3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 

(Decision Support System : DSS)
            คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่

ลักษณะเด่นของ DSS
1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                               
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง                
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ

                                     4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง 

(Executive Information System : EIS)
         คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

ลักษณะเด่นของ EIS
1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3 มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4 การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5 การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7 ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9 ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด


                                         5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ
 
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
              หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะเด่นของ AI/ES
1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น


ที่มา : http://guru.google.co.th

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

          เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้
                      ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
                      ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
                      ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
                      ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า
                                 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ที่มา : http://www.kruaksorn.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น